มาเล่นไปพร้อมกับแฟนรถบังคับทั่วโลกกันเถอะ! 〜การเดินของ MINI-Z ฉบับประเทศไทย〜

มองดูดวงอาทิตย์ขึ้นจากหน้าต่างโรงแรมแล้วมาสัมผัสถึงสิ่งที่คาดหวังไว้จากทริป MINI-Z นี้กันเลย


ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์ทำให้เราสามารถดูรูปภาพต่างๆ ได้จากทั่วโลก แชตกับคนที่มีความชอบเหมือนกันไม่ว่าจะอยู่ไกลสักแค่ไหน การสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บางทีคุณอาจจะได้ไปเจอกับแฟนๆ ที่ชื่นชอบรถบังคับที่ประเทศอื่นๆ แล้วได้เล่นด้วยกันก็เป็นได้ และบางคนที่ได้รับข้อมูลเหล่านั้นแล้วก็แอบคิดว่า “อยากจะลองไปดูสักวันหนึ่ง” อยู่ใช่ไหมล่ะครับ ในครั้งนี้พนักงานจากฝ่ายการตลาดจากญี่ปุ่นได้เข้าร่วมงาน TMC (THAILAND MINI R/C COMPETITION การแข่งขัน MINI-Z race ซึ่งจัดขึ้นที่ ZEER RANGSIT (เซียร์ รังสิต) ที่จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย เมื่อวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2019 ผมจึงอยากจะมาเล่าข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ให้ฟังว่าสถานการณ์ของ MINI-Z ที่ประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง เอาล่ะครับ เรามาทิ้งโลกที่ได้แค่มองนี้แล้วออกไปเที่ยวกันครับ Let's MINI-Z TRAVEL!


ทุกครั้งที่ไปสัมภาษณ์เก็บข้อมูลที่งานแข่งซึ่งจัดโดย KYOSHO Japan ผู้เข้าแข่งขันมักจะพูดว่า “มีเพื่อนอยู่ทั่วประเทศ” หรือ “เพิ่งมาที่นี่เป็นครั้งแรกเลย” และ “ตั้งตารอมากๆ ว่า MINI-Z CUP ฤดูกาลถัดไปจะจัดขึ้นที่ไหนนะ” หลายคนพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ถ้าจะบอกว่า “เหมือนกับเด็กๆ ที่รอคอยการไปทัศนศึกษา” ก็คงไม่ใช่เรื่องที่พูดเกินจริงไปหรอกครับ

“บทสนทนาเชิงบวก” ที่เหล่าผู้ชื่นชอบ MINI-Z พูดคุยกันนั้นดีมากจนผมรู้สึกอิจฉา ยังมีเหล่าผู้คนที่เพลิดเพลินไปกับ MINI-Z ของ KYOSHO จากทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นยุโรป, อเมริกา, โอเชียเนีย, เอเชีย, สหภาพโซเวียต อีกมากมายที่ยังไม่เคยได้พบเจอกัน จนทำให้คิดว่า “ในอนาคตแฟนๆ MINI-Z ทั่วโลกจะได้มีโอกาส สถานที่ หรือเวลามาเล่น MINI-Z อย่างสนุกสนานด้วยกันอีกไหมนะ”


ทำให้ผมนึกไปถึงภาพ KYOSHO MINI-Z European Cup, American Cup, Asia-Oceania Cup และหวังว่าสักวันหนึ่งจะพัฒนาไปถึง MINI-Z World Cup


* การลงสมัครเข้าแข่งขัน MINI-Z Japan Cup จะดำเนินการโดยความร่วมมือกันกับตัวแทนจำหน่ายของ KYOSHO

ดูตัวแทนจำหน่ายของ KYOSHO ทั่วโลกได้ที่นี่
R/C Model Distributors:
https://www.kyosho.com/rc/en/distributors/index.html


ในครั้งนี้คุณอิชิคาวะ Mr. MINI-Z ที่ทุกคนรู้จักกันดีบอกว่า “เราไปพบผู้เล่นชาวไทยกันเถอะ” ผมจึงเตรียมตัวด้วยความคาดหวังจนหัวใจพองโต


สิ่งจำเป็นที่ต้องนำไปมีเพียงข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย “กระเป๋า MINI-Z 1 ใบ” และพลังแห่งความตั้งใจเท่านั้นครับ

สัมภาระโหลดขึ้นเครื่องได้ 30 กิโลกรัม กระเป๋าเดินทางริโมว่าใบโปรดที่เอาไว้ใส่กระเป๋า MINI-Z นั้นค่อนข้างหนักอยู่แล้ว จึงต้องระวังไม่ให้น้ำหนักรวมเกิน (เหงื่อตก)


ประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนธันวาคมอากาศจะแห้ง สภาพอากาศแจ่มใสทุกวัน และไม่ค่อยมีฝนตก

ภาพถ่ายช่วงเวลา 8.00 น. (ทางเข้าสถานที่จัดงาน : เซียร์ รังสิตในพื้นที่เขตปทุมธานี)


ใช้เวลาเดินทางจากสนามบินนาริตะประมาณ 6 ชั่วโมง และใช้เวลานั่งแท็กซี่ประมาณ 50 นาทีจากสนามบินนานาชาติกรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) ไปถึงโรงแรม

ในครั้งนี้ผมลองใช้แอปพลิเคชัน “Grab”ในการเดินทางไปยังสถานที่จัดงาน Grab เป็นระบบจัดส่งรถแท็กซี่ที่สามารถใช้ในต่างประเทศ สามารถค้นหาแท็กซี่ได้แบบเรียลไทม์ และหากเลือกสถานที่ที่ต้องการไปจากสมาร์ตโฟนไว้ เราก็จะสามารถทราบราคาได้ นับเป็นแอปพลิเคชันที่ให้บริการในแต่ละประเทศได้ยอดเยี่ยมมากครับ

รถแท็กซี่ที่ Grab เรียกมาให้เป็นรถ SUV ของโตโยต้าที่เปลี่ยนล้อเป็นล้ออะลูมิเนียม รู้สึกได้ถึงความรักรถของเจ้าของเลยทีเดียวครับ


สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ที่เซียร์ รังสิตซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 30 กิโลเมตร ถ้าหากจะให้เปรียบกับที่ญี่ปุ่นก็น่าจะเป็นศูนย์รวมสรรพสินค้า แหล่งเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ฟู้ดคอร์ต หรือช็อปปิ้งมอลล์ต่างๆ นะครับ งานนี้จัดขึ้นที่พื้นที่จัดอีเวนต์ของห้างดังกล่าว และผมมารู้ภายหลังว่าที่นี่มักจะใช้เป็นสถานที่จัดงานแข่งรถบังคับในร่มของกรุงเทพฯ ด้วย

โอ้โห แล้วเราก็ได้พบกับสนาม MINI-Z ที่ยิ่งใหญ่มากครับ สนามแข่งสร้างด้วยยูรีเทนคลุมด้วยพรม

สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ที่เซียร์ รังสิตซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 30 กิโลเมตร ถ้าหากจะให้เปรียบกับที่ญี่ปุ่นก็น่าจะเป็นศูนย์รวมสรรพสินค้า แหล่งเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ฟู้ดคอร์ต หรือช็อปปิ้งมอลล์ต่างๆ นะครับ งานนี้จัดขึ้นที่พื้นที่จัดอีเวนต์ของห้างดังกล่าว และผมมารู้ภายหลังว่าที่นี่มักจะใช้เป็นสถานที่จัดงานแข่งรถบังคับในร่มของกรุงเทพฯ ด้วย


นอกจากนี้ที่ห้างสรรพสินค้ายังมีโรงแรม Asia Airport Hotel (ครั้งนี้ราคาประมาณ 4,000 เยน/คืน) ตั้งอยู่ด้านบน เพียงแค่ลงลิฟต์ก็สามารถมาที่สนามแข่งได้อย่างสะดวกสบายมากครับ


เอาล่ะครับ เรามาเข้าประเด็นหลักในครั้งนี้กันเลยดีกว่า TMC (THAILAND MINI R/C COMPETITION) คืออะไรนะ

TMC คืองานแข่งขัน 9 รุ่น จัดขึ้น 2 วัน มีผู้เข้าร่วมแข่งทั้งหมด 88 คน มีรถบังคับที่ลงแข่งขันจำนวน 218 คัน และมีการถ่ายรูปหมู่ ซึ่งผมได้เปลี่ยนจากคนถ่ายกลายเป็นคนถูกถ่าย ดีใจมากเลยที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของนักแข่งหลังจากห่างหายไปนาน

RC Bannok Hobby shop

https://www.rc-bannok.com

ที่ตั้ง : 14/1926 หมู่ 13 หมู่บ้านบัวทองธานี ตำบลบางบัวทอง Bang Bua Thong District, Nonthaburi 11110 

คลิกที่นี่เพื่อดูแผนที่



งานนี้จัดโดยร้าน RC Bannok Hobby shop (https://www.rc-bannok.com) ร้านขายรถแข่งบังคับระดับมืออาชีพ งานนี้เป็นการแข่งขันที่จะผลัดเปลี่ยนไปแต่ละสนามที่จัดขึ้นเพื่อการแข่งขันนี้โดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละแห่งตั้งอยู่ในบริเวณกรุงเทพฯ โดยจะจัดขึ้น 5 รอบต่อปี และในครั้งนี้เราได้เข้าร่วมการแข่ง “รอบที่ 5” ซึ่งเป็นรอบสุดท้าย ด้านล่างนี้เป็นรายละเอียดสั้นๆ ของกำหนดการและรุ่นแข่งขันครับ



[ตาราง/รุ่น]

การแข่งหลากหลายรุ่นใน 2 วันนี้อาจมีรุ่นที่เหมาะกับคุณก็เป็นได้นะครับ!?


ดูบรรยากาศสถานที่จัดงานได้ที่นี่


วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน


1 : KYOSHO MINI-Z OpenBox New Gen

→ รุ่น Kyosho MINI-Z Open Box New Gen Class สำหรับผู้เริ่มต้นที่สนุกกับการแข่งด้วยรถแบบแกะกล่อง รุ่นนี้เป็นรุ่นของ New Gen หรือนักแข่งรุ่นใหม่ ดังนั้นผู้ที่เคยได้อันดับสูงมาก่อนจะไม่สามารถเข้าร่วมแข่งในรุ่นนี้ได้


2 : Open Bracket Class

→ รุ่น Open Bracket Class เป็นรุ่นที่สามารถเข้าร่วมได้ทั้งรถแข่งที่ใช้โครงรถของ KYOSHO MINI-Z และโครงรถอื่นๆ ของ KYOSHO ในการแข่งได้ รุ่นนี้จะมีการกำหนดเวลา หากรถ “วิ่งเร็วกว่าเวลาที่กำหนดไว้” รอบนั้นจะไม่ถูกนับคะแนน นักแข่งที่สามารถทำรอบวิ่งด้วยความเร็วใกล้เคียงกับเวลาที่กำหนดไว้โดยไม่มองนาฬิกาได้จำนวนมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ การแข่งรุ่นนี้เป็นรูปแบบการแข่งขันที่ไม่ค่อยพบและเป็นที่นิยมสำหรับมือใหม่


3 : KYOSHO MINI-Z Off-Road

→ รุ่น High Speed Drift ที่ให้โครงรถ Buggy ของ KYOSHO MINI-Z เข้าร่วมแข่งขันนั้นมีทั้งแท่นกระโดดและหลุมพรางต่างๆ ให้ได้เล่นกันอย่างสนุกสนาน ในรุ่นนี้รถ MINI-Z Buggy, Commic Racer, Overland, MINI-Z Monster สามารถเข้าร่วมแข่งได้


4 : High Speed Drift

→ รุ่น High Speed Drift รถที่ใช้โครงรถของ KYOSHO และของยี่ห้ออื่นก็สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ เป็นรุ่นที่ติดตั้งล้อดริฟต์ลงแข่งขัน


5 : KYOSHO OpenBox Le Mans

→ รุ่นที่เฉพาะ KYOSHO MINI-Z RWD เท่านั้นที่สามารถลงแข่งได้ กำหนดให้ใช้บอดี้ Le Mans รุ่นนี้ให้ความรู้สึกเหมือนรุ่น KYOSHO MINI-Z OpenBox ที่สามารถใช้บอดี้ Le Mans ได้ 



วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน


6 : KYOSHO MINI-Z OpenBox

→ รุ่น KYOSHO MINI-Z OpenBox รุ่นนี้ก็เป็นการแข่งรถแบบแกะกล่อง สามารถใช้ออปชั่นได้เพียง Ball Bearing, Rear Suspension Plate และสปริงหน้า เป็นรุ่นที่มีกติกาใกล้เคียงกับ “รุ่น Production” ของการแข่งขัน MINI-Z cup ที่ญี่ปุ่น และเป็นรุ่นยอดนิยมที่ไทยด้วยเช่นกัน


7 : KYOSHO MINI-Z One Make Race

→ รุ่น KYOSHO MINI-Z One Make Race การแข่งรุ่นนี้เป็นรุ่นหลักของงาน TMC โดยรถที่สามารถลงแข่งได้คือ AWD, RWD, FWD (โครงรถ MA/MR/MF) ของ KYOSHO สามารถใช้มอเตอร์ แบตเตอรี่ (ผลิตโดย KYOSHO, Orion, GP) และเครื่องรับส่งสัญญาณได้อย่างอิสระ เป็นรุ่นที่คล้ายกับรุ่น Open Class ของการแข่งขัน MINI-Z cup ที่ญี่ปุ่น


8: Open 2WD Class

→ รุ่นสุดโต่งที่ให้รถแบบใดก็ได้ขอเพียงเป็นขนาด 1/27 ขับเคลื่อนสองล้อ รุ่นสุดบ้าพลังจะใช้แบตเตอรี่ LiFe หรือบอดี้ที่ทำจากโพลีคาร์บอเนตลงแข่งได้


9: Open 4WD Class

→รุ่นสุดโต่งที่ให้รถแบบใดก็ได้ขอเพียงเป็นขนาด 1/27 ขับเคลื่อนสี่ล้อ รุ่นสุดบ้าพลังของแท้ที่จะใช้แบตเตอรี่ LiFe หรือบอดี้ที่ทำจากโพลีคาร์บอเนตลงแข่งได้


บรรยากาศโต๊ะประกอบรถแข่งในสถานที่จัดงาน ในครั้งนี้แม้ลังเลว่าจะใช้บอดี้ McLaren P1™ GTR แต่สุดท้ายก็เลือก Chevrolet Corvette ZR1 จากบอดี้สีขาว เพ้นต์ด้วยสี Pennzoil (https://www.pennzoil.com/) เท่ใช่ไหมล่ะครับ บริษัทน้ำมันซึ่งมีต้นกำเนิดที่แคลิฟอร์เนียช่างดูเข้ากันกับรถอเมริกันจริงๆ บอดี้อันนี้แชมป์ของการแข่งขัน MINI-Z CUP JAPAN ได้ให้ยืมมา การลงแข่งด้วยบอดี้รถที่เท่ๆ ช่วยให้คึกคักได้จริงๆ เลย ขอบคุณนะครับ



วันที่ 1 : เข้าสู่วันแรกของการเตรียมพร้อมในวันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายนครับ


ผมจะขอแนะนำรุ่นที่ผมเข้าร่วมที่นี่หน่อยนะครับ วันแรกเป็นรุ่น Open Bracket Class (โอเพ่นแบ็กเก็ตคลาส) ซึ่งเวลาที่กำหนดได้ตั้งไว้ที่ 25.30 วินาที/รอบ และห้ามวิ่งเร็วกว่าเวลาที่กำหนดไว้นี้ โดยจะไม่มีการนับคะแนนในรอบวิ่งที่ขับเร็วไปดังกล่าวครับ


แน่นอนว่าในระหว่างที่รถวิ่งจะไม่สามารถดูนาฬิกาได้ จึงต้อง “เชื่อมั่นนาฬิกาที่อยู่ภายในร่างกายของตัวเอง (หัวเราะ)” การแข่งขันรุ่นนี้มีกติกาว่าใครที่ทำเวลาได้ใกล้เคียงกับเวลาที่กำหนดไว้ได้จำนวนรอบมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ผู้ที่เล่นเก่งส่วนใหญ่จะวิ่งที่ประมาณ 14 วินาที/รอบ ส่วนผู้ที่ทำเวลาได้ช้าจะอยู่ที่ประมาณ 18 วินาที/รอบ 


การแข่งแบบนี้จะสนุกเหรอ?


ตอนแรกผมก็คิดแบบนั้นนะครับ แต่พอได้ลองลงแข่งจริงก็อยากจะบอกว่า “สนุกสุดๆ เลยครับ”


ผมคิดเอาเองว่าคู่แข่งของผมในวันนี้ก็คือคุณ Kachchapananda น้องผู้หญิงแสนน่ารัก แต่สุดท้ายก็แพ้ราบคาบ ทำไมกันล่ะ

เพราะอะไรน่ะเหรอครับ อย่างแรกเลยเวลาที่กำหนดใน 1 รอบนี้ช้ามาก ต่อให้ชนอะไรนิดหน่อยก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ (ไม่มีผลอะไรกับเวลา) เราจะต้องนับหนึ่ง สอง สามในใจ และบังคับรถให้วิ่งไปหนึ่งรอบโดยเชื่อในความรู้สึกตัวเอง แต่ผมว่าผมไม่ค่อยถนัดเท่าไรน่ะครับ ฮ่าๆ แต่ไม่ว่าใครที่ลงแข่งก็จริงจังในการแข่งกันหมด


นอกจากนี้สิ่งที่ใช้เพิ่มสีสันในการแข่งก็น่าสนใจมาก จะบอกว่าอย่างไรดี ถ้าจะให้เปรียบก็เป็นเหมือนช่วงหนึ่งของรายการวาไรตี้เลยครับ


หากรถวิ่งเร็วเกินเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะมีซาวด์เอฟเฟกต์ส่งเสียง “บูบูบู” บอกเป็นสัญญาณว่าไม่ผ่าน


หากทำเวลาได้ใกล้กับเวลาที่กำหนดก็จะมีเสียง ฟิ้ว! คล้าย “เสียง F1” เวลาวิ่งผ่านอัฒจรรย์ดังก้องทั่วที่จัดงาน


สุดท้ายก็จะมีเสียงปรบมือแปะๆ ที่คอยช่วยเพิ่มความครึกครื้นในที่จัดงาน ซาวด์เอฟเฟกต์พิเศษเหล่านั้นช่วยเพิ่มอารมณ์ให้สนุกสนานยิ่งขึ้นครับ


ส่วนผลการแข่งขันนั้น นี่เลยครับ ⤵️ คุณอิชิคาวะได้ที่ 6 ส่วนผมได้ที่ 7 โอ้โห ที่โหล่เลยครับ * คุณอิชิคาวะพบกับปัญหาเกี่ยวกับเครื่องนับรอบ


ในความรู้สึกผมว่าการแข่งรุ่นนี้ “คล้ายกับการเล่นกอล์ฟ” ที่คนที่เล่นเก่งและเล่นไม่เก่งสามารถออกรอบด้วยกันและสนุกไปพร้อมๆ กันได้ครับ ผมเองก็อยากลองนำการแข่งรุ่นนี้ไปจัดที่งานแข่ง MINI-Z ของญี่ปุ่นด้วยเหมือนกัน 




วันที่ 2 : วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน ออกศึกในสนามแข่งขันจริง!

การแข่งอีกรุ่นหนึ่งนั้นคือ “รุ่น KYOSHO MINI-Z Open Box Class” ที่อยู่ในวันที่สอง ซึ่งเป็นวันที่มีการแข่งขันแบบจริงจัง สำหรับกติกาของรุ่นนี้เป็นไปตามที่อธิบายไปด้านบนคือสามารถใช้ออปชั่นได้เพียง Ball Bearing, Rear Suspension Plate และสปริงหน้าเท่านั้น เป็นรุ่นที่มีกติกาใกล้เคียงกับ “รุ่น Production” ของการแข่งขัน MINI-Z cup ที่ญี่ปุ่น เป็นรุ่นยอดนิยมที่ไทยและมีผู้เข้าร่วมแข่งขันมากครับ

McLaren P1™ GTR GARAGE HIRO Ver. ของคุณอิชิคาวะที่ใช้ในการแข่งรุ่น KYOSHO MINI-Z One Make Race ก็เป็นที่นิยม อืม คิดว่าสักวันก็อยากจะได้มาไว้เหมือนกันนะครับ


GARAGE HIRO→


Mr. MINI-Z คุณอิชิคาวะ คว้าตำแหน่ง TQ สมแล้วกับฝีมือที่ได้รับการยอมรับ และผลการแข่งขันอย่างดุเดือดเป็นเวลา 30 นาทีในรอบชิงชนะเลิศ ผลออกมาได้อันดับที่ 2 เครื่องใช้ MR-03 N และใช้บอดี้ TOYOTA 86 GARAGE HIRO Ver. เท่สุดๆ ไปเลยครับ บริเวณที่จัดงานอยู่ในความเงียบสงบ ทุกคนต่างกลั้นลมหายใจเพื่อรับชมการแข่งขันของนักแข่งระดับ A Final


คุณอิชิคาวะเริ่มต้นศึกการแข่งขันจากตำแหน่ง TQ และวิ่งไปได้อย่างสวยงาม แต่ทันใดนั้นเอง “KEN คุง” นักแข่งชาวไทยวัยเพียง 13 ปีก็ไล่ตามมาด้านหลังและไล่บี้กันอย่างดุเดือดและยาวนาน ท้ายที่สุด KEN คุงไล่โจมตีคุณอิชิคาวะแต่ก็ยังไม่สามารถคว้าอันดับ 1 มาได้ แล้วจู่ๆ ในชั่วพริบตาทั้งสนามก็มีเสียงเชียร์ KEN คุงดังกระหึ่ม ทันใดนั้นก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อในรอบสุดท้ายคุณอิชิคาวะโดน backmarker หรือคันที่ถูกน็อครอบบล็อกทาง จนทำให้ KEN คุงสามารถคว้าชัยชนะไปได้ ในที่จัดงานต่างประทับใจกับภาพการจับมือระหว่าง KEN คุงและคุณอิชิคาวะครับ

นักแข่งที่ต่อสู้กันอย่างดุเดือดในสนามเดียวกันจับมือกันอย่างเป็นธรรมชาติ


รับชมภาพช่วงเวลาเด็ดๆ ที่พลาดไม่ได้ได้ที่นี่ :



อืม รู้สึกว่า MINI-Z ได้กลายเป็นมอเตอร์สปอร์ตจริงๆ แล้วครับ นี่สินะความตื่นเต้นที่กีฬาเหล่านี้มีร่วมกัน!

ท้ายสุดก็ได้มอบเครื่องที่ได้ตำแหน่ง TQ ให้เป็นรางวัลในการจับสลาก Lucky Draw แก่ผู้เข้าร่วมงานที่ไทย 

 

สำหรับผมในรอบคัดเลือกได้เป็นที่ 4 ของ Main B และได้อันดับที่ 6 ในรอบชิงชนะเลิศ ปกติแล้วผมไม่ใช่คนที่ตื่นเต้นเท่าไร แต่ตอนก่อนออกสตาร์ตครั้งนี้กลับรู้สึกตื่นเต้นจนมือไม้สั่นและเป็นอย่างนี้ตลอดการแข่งขัน 15 นาทีเลยครับ

ผมที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จาก Mr. MINI-Z ด้วยครับ


ขอจบการรายงานเรื่องการแข่งของผมไว้เท่านี้ก่อน พอมานึกดูแล้วสิ่งที่สนุกที่สุดคือการปรับแต่ง MINI-Z ให้เข้ากับตัวเองและความพยายามต่างๆ ตั้งแต่เริ่มแกะกล่องจนมาถึงตอนนี้ครับ

McLaren P1™ GTR อันไหนคือของจริงกันนะ


ฮิโรทานิ อิวาซากิคุงทำได้เก่งเกินไปแล้ว รักนะครับ


 ไม่ว่าใครก็จะได้เจอกับช่วงเวลาที่รู้สึกว่านักขับรถกับอุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันได้อย่างลงตัว แม้ว่าจะบังคับรถจากระยะไกล แต่ก็รู้สึกราวกับว่าตัวเองกำลังนั่งรถขับอยู่จริงๆ

 

นอกจากนี้ “Chevrolet Corvette” โมเดลที่เพื่อนชาว MINI-Z ให้ยืมมาใช้ก็ช่วยเพิ่มความสนุกขึ้นไปอีกขั้นครับ แม้ว่ากติกาจะกำหนดให้เปลี่ยนได้แค่ Ball Bearing, Rear Suspension Plate และสปริงหน้า แต่แค่ได้เปลี่ยนอะไรสักอย่างก็รู้สึกว่าฟีลลิ่งของรถนั้นเปลี่ยนไปแล้วล่ะครับ

เกจวัดยางและที่ถอดแบตของ Mar นี้ไม่ต้องใช้ก้ามปู ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ Mar ได้นะครับ
ผมอยากแนะนำน้ำมัน Bearing 2 ชนิดของ YUTORI Racing ด้วยครับ ผู้ที่สนใจก็สอบถาม Mar ได้เช่นกัน ส่วนชาไข่มุกนั้นเป็นของคุณอิชิคาวะนะครับ


Mar (M-Atsugi Racing) 

ผู้จัดการ : คุณนากามุระ
WEB
FACEBOOK 



เชื่อว่าผู้เล่น MINI-Z ทั่วโลกต่างก็มี “สนามแข่ง MINI-Z ประจำตัว” เป็นของตัวเองใช่ไหมล่ะครับ เนื่องจาก KYOSHO ตั้งอยู่ที่อำเภออาสึกิ จังหวัดคานากาวะ จึงเคยไปสนาม Mar Circuit ที่ผู้จัดการนากามุระเป็นผู้ดูแลอยู่ประมาณ 2 ครั้ง ใช้เวลามากมายไปกับการฝึกวิ่งรถจนดึกดื่น ได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการคุยกับผู้เล่น MINI-Z ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้วยครับ


ミニッツサービスステーションはこちら(Japanese only)→


แล้วผมก็ได้ “ใช้เวลาอันแสนคุ้มค่าและสะสมความสุข” เมื่อเดินทางมาเยือนต่างแดนที่ประเทศไทยอันแสนมีเสน่ห์นี้ครับ


ในประเทศที่สนุกไปกับ MINI-Z ได้นี้เรียกว่ามีวัฒนธรรมการชื่นชอบรถและการแต่งรถ ชอบโมเดลและการขับรถบังคับ ไม่ว่าจะเด็กเล็กหรือเด็กโต (หรือก็คือผู้ใหญ่นั่นเอง ฮ่าๆ) ก็ไม่ต่างกัน จะได้พบกับช่วงเวลาที่ได้กลายเป็นเพื่อนกับแฟนๆ ของ MINI-Z ทั่วโลกอย่างเป็นธรรมชาติด้วยครับ

คุณโทโมยุกิ โอกุริอาศัยอยู่ที่ไทยและกำลังสนุกสนานไปกับการแข่งรถบังคับในทีม TJRC (Thai Japanese Radio Control car club) การได้พบกับคนญี่ปุ่นที่ไทย คุณโทโมยุกิได้เล่าข้อมูลต่างๆ ที่เมืองไทยให้ผมฟังมากมายจนรู้สึกอุ่นใจ ครั้งหน้าชวนเพื่อนมาเข้าร่วมแข่งให้ได้นะครับ

พอรู้สึกตัวอีกทีก็อดคิดไม่ได้ว่า KYOSHO MINI-Z เป็นผลิตภัณฑ์แห่งปาฏิหาริย์ซึ่งก้าวข้ามภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างได้ และในทางกลับกันเราก็สามารถใช้สมาร์ตโฟนที่เป็นเครื่องมือสุดสะดวกในการช่วยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง แล้วก็ช่วยให้มีเพื่อนจริงๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บนโลกออนไลน์ด้วยครับ

* ติดต่อเรื่องงาน→ คนไทยทุกท่านครับ กรุณาสวมเสื้อยืด KYOSHI ในการแข่งขันครั้งต่อไปด้วยนะครับ


ความรู้สึกที่อยากเล่นให้เก่งขึ้น อยากวิ่งได้เท่ๆ อยากชนะการแข่ง แล้วก็ “อยากเชื่อมโยงกับผู้คนที่มีความชอบเหมือนๆ กัน” ไม่ว่าใครก็มีความคิดต่างๆ กันนะครับ


โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยชอบโลกที่อึดอัดเกินไปสักเท่าไร บ่อยครั้งที่ต้องการบริการเพิ่มเติม ในยุคอินเทอร์เน็ตนี้ผมต้องการสร้างชีวิตที่ได้พูดคุยกับผู้คนในเชิงบวกมากกว่าการส่งสัญญาณเชิงลบที่สื่ออารมณ์ไม่ดีออกไปให้แก่ผู้อื่น ผมชอบความสัมพันธ์ที่สามารถรับบริการที่จำเป็นและเพียงพอได้ ไม่แน่ว่าเป้าหมายของผมก็คือ “ประสบการณ์” นั่นเองครับ


MINI-Z รถที่มีขนาดเท่าฝ่ามือนี้มีลักษณะพิเศษคือเป็นกีฬาที่ไม่ได้แข่งกันด้วยพละกำลัง สามารถเล่นได้ตั้งแต่เด็กเล็ก ผู้หญิง ไปจนถึงผู้สูงอายุ ดังนั้นผมจึงอยากจะสร้างสรรค์โลก MINI-Z ให้เป็นโลกที่เปิดกว้างต้อนรับผู้คนให้เข้ามาสนุกได้อย่างเต็มที่ครับ


ด้วยความสนับสนุนจากทุกท่าน MINI-Z กำลังจะครบรอบ 20 ปีในปีนี้ ผมในฐานะพนักงานของ KYOSHO ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าอยากจะคิดสิ่งต่างๆ เพื่อส่งมอบ “ผู้คน สิ่งของ เรื่องราว” ให้แก่แฟนๆ ของ KYOSHO ครับ

* แนะนำให้ติดต่อสอบถามเรื่องสภาพสนาม เวลาเปิดร้าน ฯลฯ ล่วงหน้าทางเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียก่อนนะครับ 

ผมรู้สึกขอบคุณ RC Bannok Hobby Shop ผู้จัดงานนี้จากใจเลยครับ จากนี้ต่อไปก็ช่วยทำให้ MINI-Z ในไทยเติบโตยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ



[สนามแข่งในกรุงเทพฯ ที่ไปในครั้งนี้]


RC Bannok Hobby shop

เจ้าของร้านคุณ Ou มีความชำนาญเรื่อง MINI-Z เป็นอย่างมาก มีการแชร์เคล็ดลับและฮาวทูต่างๆ บน YouTube

14/1926 หมู่ 13 หมู่บ้านบัวทองธานี ตำบลบางบัวทอง Bang Bua Thong District, Nonthaburi 11110 
+66 2 107 9198
WEB
FACEBOOK
แนะนำ FACEBOOK ของแฟนคลับ
MINI-Z Only-FG

BLACKTUNERS THAILAND

ร้านที่มีสนาม MINI-Z ขนาดใหญ่ เจ้าของคือคุณ Apiwat และคุณ Pwit ผู้จัดการร้านที่ดูเป็นพี่ใหญ่ใจดี

พระราม 2 ซอย 15, บางมด, จอมทอง, Bangkok 10150
FACEBOOK

RC-club Circuit

สนามแข่งตั้งอยู่คู่กับร้านล้างรถ คุณ Bee หนึ่งในเจ้าของร้านเป็นนักแข่งสุดแข็งแกร่ง เคยลงแข่งงาน KYOSHO World Cup ครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อปี ค.ศ.1995

+66 85 353 9494
rcclubcircuit@hotmail.com
FACEBOOK

Mini Z Speedway Town in Town

รถบังคับของลูกค้าวิ่งด้วยความเร็วและมีเทคนิคชั้นสูง และคุณ Nat เจ้าของร้านมีรอยยิ้มที่สวยงามที่ทุกคนต่างหลงรัก อีกทั้งยังมีสนามดริฟต์อีกด้วย


1243 Lat Phrao 94 Alley, Phlabphla, Wang Thonglang, Bangkok 10310
+66 82 121 9501
FACEBOOK

TEXT : ทาคายุกิ ยาจิมะ จาก KYOSHO Global Marketing Gr


Kyosho Style

0コメント

  • 1000 / 1000